วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

                                                    ตัวอย่างภาษาถิ่นใต้

คำ
ความหมาย
คำ
ความหมาย
กุบกั่บ
รีบร้อน
กางหลาง
เกะกะ
แกล้ง
ตั้งใจทำ
โกปี้
กาแฟ
ข้องใจ
คิดถึง, เป็นห่วง
ขี้หมิ้น
ขมิ้น
ขี้ชิด
ขี้เหนียว
แขบ
รีบ
ขี้หก, ขี้เท็จ
โกหก
แขว็ก
แคะ
เคร่า
คอย, รอคอย
เคย
กะปิ
ไคร้
ตะไคร้
ครกเบือ
ครก
คง
ข้าวโพด
งูบองหลา
งูจงอาง
ฉ่าหิ้ว
ตะกร้า
ชันชี
สัญญา
เชียก
เชือก
ตอเบา
ผักกระถิน
แตงจีน
แตงโม
โตน
น้ำตก
ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โลภมาก,อยากได้
ต่อเช้า
พรุ่งนี้
แต่วา
เมื่อวาน
น้ำเต้า
ฟักทอง
น้ำชุบ
น้ำพริก
เนียน
ละเอียด, ไม่หยาบ
เนือย
หิว, อ่อนแรง
ดีปลี,ลูกเผ็ด
พริก
เปรว
ป่าช้า
ผักแหวน
ใบบัวบก
พุงปลา
ไตปลา
พาโหม
กะพังโหม
ยิก
ไล่
ลอกอ
มะละกอ
ลกลัก
เร่งรีบ,ลนลาน
ลาต้า
อาการบ้าจี้
แลกเดียว
เมื่อตะกี้
ลูกปาด
ลูกเขียด
สากเบือ
สาก
ส้มนาว
มะนาว
หวันมุ้งมิ้ง
โพล้เพล้
หยบ
ซ่อน,แอบ
หล่าว
อีกแล้ว
หลบบ้าน
กลับบ้าน
หัว
หัวเราะ
หวังเหวิด
กังวล,เป็นห่วง
หย่านัด
สับปะรด
หย้ามู้, ยาหมู่,ชมโพ่
ฝรั่ง
หรอย
อร่อย
อยาก
หิว

                                       ภาษาถิ่นใต้

เเผนที่

                            
  ภาษาถิ่นใต้  ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม  14  จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช  เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ภาษาถิ่นใต้   ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เป็นภาษาถิ่นใต้ ภาคตะวันออก  เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ใน จังหวัดนครศรีธรรมราช  พัทลุง สงขลา  ปัตตานี  ตรัง

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่น  คืออะไร




คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น
เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น
หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า
การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เเนะนำผู้จัดทำ ^_^

 


ชื่อ  :  นางสาวเกษรินทร์  สินวัฒน์
รหัสนักศึกษา : ๕๖๘๑๑๑๓๐๓๔
นักศึกษาคณะครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
ชื่อเล่น : เฟิร์น
วันเกิด  ๙  มกราคม ๒๕๓๗